เตาผลิตถ่านหลายแห่งใน จ.ตรัง ลดกำลังการผลิตลงทำขายปลีกในพื้นที่ แทนการส่งขายยุ้งในกรุงเทพฯเหมือนที่ผ่านมา สวนทางความต้องการของประชาชนทั่วประเทศที่ต้องการใช้ถ่านเป็นพลังงานทางเลือกที่เพิ่มสูงขึ้น สาเหตุเพราะไม้ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญมีราคาแพงขึ้น แม้ถ่านจะมีการปรับราคาขึ้นก็ตาม แต่ยังสู้ต้นทุนไม่ไหว จึงหันมาผลิตขายแค่ในพื้นที่แทน เพราะความต้องการของประชาชนในพื้นที่ก็มีมากเช่นกัน โดยแบ่งขายเป็นกระสอบละประมาณ 10 กิโลกรัมเศษ ในราคากระสอบละ 140 บาท และยังจัดใส่ถุงขายปลีก ถุงละ 30 บาท ตามร้านค้าและหน้าบ้าน ให้ประชาชนได้ใช้กัน เพื่อส่งเสริมชาวบ้านประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้วย ส่วนเศษถ่านส่งขายให้กับโรงงานผลิตถ่านอัดแท่ง ในราคากระสอบละ 20 บาทครับRead More
นายโอชา อินทร์ขุนจิตร และนางอำนวย สมัยแก้ว สองสามีภรรยา ชาวบ้านในพื้นที่โฉนดชุมชุมบ้านทับเขือ-ปลักหมู ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง เดิมเคยปลูกต้นดอกหญ้าเอาไว้บนพื้นที่ว่างในประมาณ 5 ไร่ สามารถสร้างรายได้จากการเก็บดอกไปทำไม้กวาดได้ปีละประมาณ 70,000 บาท แต่เมื่อดอกหญ้าที่ปลูกไว้ไม่เพียงพอต่อการทำไม้กวาด จึงชวนนางอำนวย ภรรยา ออกไปตัดดอกหญ้าบริเวณพื้นที่ตามธรรมชาติใกล้บ้านเพื่อนำมาทำไม้กวาด โดยใช้หวายเป็นด้ามจับ ทำให้ไม้กวาดมีความแข็งแรงและทนทาน ราคาขายด้ามละ 70 บาท หากขายส่งราคาจะอยู่ที่ 65 บาท ปรากฏว่ามีออเดอร์ของลูกค้าสั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำและสามารถทำได้ทั้งปีอีกด้วยครับRead More
พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งเป็นแหล่งป่าเสม็ด มีประชาชนทั้งในพื้นที่ ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา และต่างอำเภอ เช่น อ.กันตัง และ อ.หาดสำราญ นับร้อยคน เพื่อหาเห็ดเสม็ด ที่มีขึ้นเป็นจำนวนมากหลังฝนตก ซึ่งแต่ละปีสามารถเก็บได้ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งแต่ละคนอาจจะได้มากบ้างน้อยบ้าง แต่ส่วนใหญ่ถ้าหาได้จำนวนมาก ก็จะนำไปขายครับ ทั้งนี้ ถ้าหากขายสด ๆ โดยไม่ต้องทำความสะอาดหรือต้มก่อน จะขายในราคากิโลกรัมละ 150 บาท แต่หากทำความสะอาดและต้มก่อน จะขายในราคากิโลกรัมละ 200 บาท ทำให้ประหยัดรายจ่ายในครอบครัว เพราะสามารถนำไปประกอบอาหารได้ และมีรายได้เสริมแต่ละวันคนละกว่า 1,000 บาท หรือหลายพันบาทตลอดฤดูกาล และปีนี้เชื่อว่าเห็ดเสม็ดจะออกดอกยาวนานกว่าปีที่ผ่านมาครับRead More
เกษตรกรจังหวัดตรังได้รับความร่วมมือจากศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จังหวัดตรัง ซึ่งรับผิดชอบดูแล 8 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นนโยบายของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร สนับสนุนไปให้ประชาชนปลูกหลังบ้านคนละ 3-5 ต้น ในส่วนของจังหวัดตรัง ศูนย์ขยายพันธุ์ที่ 2 จ.ตรัง สนับสนุนพืชกระท่อมมาให้แล้ว 3 รอบ รวมประมาณ 30,000 ต้น ผ่านไปทางเกษตรอำเภอ ศูนย์เรียนรู้แปลงใหญ่, Young Smart Farmer และทำเป็นแปลงสาธิตผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบว่าวันข้างหน้าถ้าขับเคลื่อนจากแปลงสมุนไพรไปสู่เศรษฐกิจ จะต้องมีแปลงที่ผ่าน GMP ปลอดสารเคมี มีโรงงานรองรับแน่นอน โดยทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกปาล์มรายย่อย อ.สิเกา ต.กะลาเส จึงอาสาที่จะเป็นแปลงต้นแบบประจำอำเภอสิเกา นอกจากนั้นยังมีที่ อ.กันตัง 1 แปลง และ อ.ปะเหลียนอีก 1 แปลง โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตรังก็ได้ขับเคลื่อน เพื่อที่จะเป็นต้นแบบในอนาคตครับ จากการเข้าร่วมสัมมนาและศึกษาทิศทางตลาดของพืชกระท่อม และได้รับความรู้จากบริษัทผู้ส่งออกคาดว่า พืชกระท่อมจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ดังนั้น ในส่วนวิสาหกิจชุมชนจึงยึดหลักการตลาดนำการผลิต โดยพืชกระท่อมใช้เวลาปลูก 8 เดือน […]Read More
นางอังคณา มีแก้ว สมาชิกศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง หมู่ 11 ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี มีแนวคิดที่จะทำรับประทานเองที่บ้าน โดยเริ่มศึกษาวิธีการทำจากใน YouTube แล้วฝึกหัดพัฒนาฝีมือพร้อมกับประยุกต์ให้ได้เป็นสูตรของตัวเอง และหลังจากแบ่งปันให้คนในครอบครัวและเพื่อน ๆ ได้รับประทาน ต่างก็ชื่นชอบ และสนับสนุนให้ทำขายสร้างรายได้ครับ ปัจจุบัน ลูกค้าที่สั่งซื้อขนมเทียนสลัดงา จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวและผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง นอกจากนั้นก็จะเป็นลูกค้าจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่สั่งขนมไปใช้เป็นอาหารรับรอง รวมไปถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการนำไปจัดในงานเลี้ยงต่าง ๆ ทั้งนี้ ท่านใดที่สนใจรับประทานขนมเทียนสลัดงา หรือต้องการเรียนรู้วิธีการทำ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเกษตรพอเพียงบ้านห้วยขวาง หมู่ 11 ต.ท่าผา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี เพจเฟสบุ๊ค “สวนหลังบ้าน” หรือที่เบอร์โทรศัพท์ 081 570 7770Read More
ที่ไร่แตงกวาในแถบ ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ของนางสาวขวัญจิตร ขวัญใจเลิศ มีแตงกวาที่สวยงาม อวบใหญ่และผิวสวย โดยในช่วงนี้ราคาแตงกวาออกจากสวนขายส่งกิโลละ 17 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ดีเพราะต้นทุนอยู่ที่กิโลละ 5 บาทเท่านั้น ส่วนราคาขายปลีกตามท้องตลาดกิโลละไม่ต่ำกว่า 40-50 บาท ซึ่งที่สวนเพิ่งเก็บแตงกวาได้เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา และยังสามารถเก็บได้อีก 1 เดือนจึงจะยุบ ถ้ายังมีฝนตกต่อเนื่องราคาก็ยังสูงต่อไปอีก และแตงกวาถ้ามีลูกใหญ่ ๆ ทางร้านส้มตำจะชอบมาก เพราะมีผู้บริโภคนิยมรับประทานตำแตง ดังนั้นช่วงนี้ถ้าใครมีแตงกวา แตงร้านหรือถั่วฝักยาวก็จะมีกำไรจากการปลูกพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ครับRead More
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเห็ดอีกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น พิซซ่าเห็ด หอยจ๊อเห็ด กะหรี่ปั๊บไส้เห็ด น้ำเห็ดหูหนู ล้วนเกิดจากฝีมือของสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เห็ดนางฟ้า ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และองค์ความรู้การเพาะเห็ดตามหลักวิชาการ ตลอดจนการนำนวัฒกรรมและเทคโนโลยีอย่างโรงเรือนอัจฉริยะ ระบบ Evap มาปรับใช้ ช่วยทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง และเพิ่มช่องทางการตลาดด้วยผลิตภัณฑ์แปรรูปสร้างรายได้ให้กับสมาชิกครับ ทั้งนี้ท่านที่สนใจอุดหนุนเห็ดสดและผลิตภัณฑ์แปรรูป สามารถติดต่อได้ที่ เฟสบุ๊ค “แปลงใหญ่เห็ด ตำบลปากช่อง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี” โทรศัพท์ 086 171 9065Read More
สวนผลไม้บ้านป้าเรียนมีทุเรียนทั้งหลงลับแลและหมอนทอง สดๆ ให้เลือกตามชอบใจเลยครับ ในส่วนราคาหน้าสวน โดยขณะนี้มีทุเรียนหลงลับแลรุ่นแรก ราคากิโลกรัมละ 380 บาท ส่วนหมอนทองมีให้เลือกมากมาย ทั้งสุก กรอบนอกนุ่มใน ราคาเริ่มต้น กิโลกรัมละ 180 บาท หากจะกินที่สวน ทางเรามีบริการปอกใส่กระจาดให้ครับ ถ้าหากนั่งทานในสวนรอบบ้านจะได้บรรยากาศแบบสุดๆ มาถึงเมืองลับแลก็ต้องทานทุเรียนลับแลสิครับ รับประกันทุกลูก ด้วยประสบการณ์ชาวสวนทุเรียนลับแลกว่า 40 ปี ทางสวนผลไม้บ้านป้าเรียน เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09.00 – 18.00 น. นอกจากนี้ยังมีบริการส่งทุเรียนถึงบ้าน หากสนใจติดต่อได้ที่ 063-8914659Read More
จากการติดตามบรรยากาศการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม สัตว์เศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ และอาหารยอดฮิตในช่วงเทศกาล พบว่าอยู่ในช่วงชะลอตัว ขณะที่ยังมีพ่อค้าคนกลางและผู้ประกอบการร้านอาหาร จุดจำหน่ายกุ้งทั้งภายในจังหวัดกาฬสินธุ์และต่างจังหวัด ทยอยเข้ามารับซื้อที่ปากบ่อและจุกพักค่อนข้างบางตา จากการสอบถามทราบว่าเป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่มีการปรับราคาแพงขึ้นและเสี่ยงต่อการค้าขายขาดทุนครับRead More
“ข้าวโพดหมักเกลือ” เป็นวิธีการถนอมอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ในช่วงหน้าแล้ง สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี มีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน มีคุณค่าทางอาหารและเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ครับ ในส่วนการทำข้าวโพดหมักเกลือก็ไม่ยากครับ เริ่มแรกนำต้นข้าวโพดสดมาเข้าเครื่องสับ บดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ประมาณ 50 กิโลกรัม หรือ 1 ถัง 200 ลิตร ต่อเกลือเม็ด 1.2 กิโลกรัม ซึ่งการหมักในถังนั้นต้องคำนวนแบ่งเป็น 4 ชั้น ก็คือ ชั้นแรกทำการโรยเกลือลงไปในถังก่อนประมาณ 0.3 กิโลกรัม จากนั้นนำข้าวโพดที่บดใส่ลงไป ตามด้วยเกลือ0.3 กิโลกรัม และทับด้วยข้าวโพดบดทำเป็นชั้น ๆ จนครบ 4 ชั้น แล้วปิดฝาให้สนิดไม่ให้อากาศเข้า หรือถ้าหากไม่มีถังหมัก ก็สามารถหมักในถุงได้เช่นกัน โดยนำข้าวโพดบดที่ทำการผสมเกลือตามสูตร มาใส่ลงไปในถุงพลาสติกที่ซ้อนทับด้วยกระสอบอีกชั้น ต่อมานำเครื่องดูดฝุ่นมาดูดเอาอากาศที่อยู่ในถุงออก หรือเป็นการบรรจุแบบสูญญากาศ มัดปากถุงให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าได้ เพื่อป้องกันไม้ให้ข้าวโพดหมักเน่าเสีย ซึ่งใช้เวลาในการหมักประมาณ 10-14 วัน ก็สามารถนำมาเลี้ยงโค กระบือได้เลยครับRead More










