ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้

ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นข้าวเจ้า ที่มีอมิโลสสูง และถือได้ว่าดีที่สุดในข้าวพันธุ์เสาไห้ มีบันทึกเกี่ยวกับข้าวพันธุ์นี้ไว้ว่า เป็นข้าวที่พ่อค้าชาวจีน ชื่อว่า “เจ๊กใช้” เป็นผู้รวบรวมข้าวส่งโรงสีแถบ จ.สระบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร ได้นำพันธุ์ข้าวลักษณะดีจาก จ.นครสวรรค์ มาให้เกษตรกรปลูกที่ อ.เสาไห้ ภายหลังจากทำการสีออกมาพบว่า เป็นข้าวคุณภาพดี เมล็ดยาวน้ำหนักดี ทำให้กลายเป็นที่นิยมของชาวเสาไห้ จนมีการเรียกชื่อ พันธุ์ข้าวตามชื่อพ่อค้าที่นำมา แต่ได้เพี้ยนมาเป็น “เจ๊กเชย” ในเวลาต่อมา

ลักษณะเด่น

เวลาหุงสุกจะขึ้นหม้อ เม็ดขาวร่วน นุ่ม ไม่แข็งกระด้าง  มีรสชาติเฉพาะตัว เวลาเคี้ยวสามารถสัมผัสถึงรสชาติข้าวได้อย่างดี ไม่แฉะ ไม่บูดง่าย เมื่อทิ้งไว้เย็นข้ามวันคุณภาพไม่เปลี่ยน และ ไม่มีกลิ่นสาบแม้จะเป็นข้าวค้างปี

การแปรรูปเป็นอาหาร 

“แป้งข้าวเจ๊กเชย” นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบเส้นต่างๆ เช่น เส้นขนมจีน แป้งสด ก๋วยเตี๋ยว มักกะโรนี สปาเก็ตตี้ อุด้ง ส่วนของขนมหวาน อาทิ ขนมเปียกปูน ขนมชั้น และ ขนมหม้อแกง 

คุณค่าทางโภชนาการ

  • มีอมิโลส ร้อยละ 27-28
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมโรคมะเร็ง โรคอ้วน พิษสุราเรื้อรัง เหน็บชา
 

กระบวนการผลิต

  • พื้นที่ปลูกอยู่ในอำเภอเสาไห้ เมืองหนองแซง วิหารแดง หนองแค หนองโดน และอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี และผลิตตามระบบ GAP

 

ชื่อพันธุ์ เจ๊กเชย 1
คู่ผสม
เหลืองทองนาปรัง / ไออาร์ 8

การรับรองพันธุ์

– คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติรับรองพันธุ์ ชื่อ เจ๊กเชย 1 เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2551

ลักษณะประจำพันธุ์ 

– เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง สูงเฉลี่ย 160-170 เซนติเมตร
– อายุเก็บเกี่ยว 10 ธันวาคม
– ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว ใบธงหักลง คอรวงยาว
– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ขนสั้น
– เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.3 x 2.5 x 2.0 มิลลิเมตร
– เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.7 x 2.1 x 1.7 มิลลิเมตร
– ปริมาณอมิโลสสูง (27.1%) ,คุณภาพข้าวสุกค่อนข้างแข็ง
– ระยะพักตัวของเมล็ดพันธุ์ประมาณ 6-7 สัปดาห์

ผลผลิต

– ประมาณ 812 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

– ข้าวสารคุณภาพดี หุงขึ้นหม้อ ร่วนเป็นตัวไม่เกาะกัน เนื้อสัมผัสจากการชิมค่อนข้างแข็ง แต่มีความนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง
– สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี
– สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากเป็นข้าวต้นสูง และทนน้ำท่วมได้ดีกว่าข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงในพื้นที่เดียวกัน

ข้อควรระวัง

– ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล