ข้าวเหลืองประทิว 123

“ข้าวเหลืองปะทิว” เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมในอำเภอปะทิว กรมการข้าวได้รวบรวมรวงข้าวเหลืองปะทิวจากแหล่งต่างๆ นำมาปรับปรุงพันธุ์ให้บริสุทธิ์

ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร (Khao Leuang Patew Chumphon) หมายถึง ข้าวเจ้าพันธุ์เหลืองปะทิว 123 เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์หนัก ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปี คือเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม

คุณสมบัติของข้าวเหลืองปะทิว จะเป็นข้าวพื้นแข็ง เมื่อหุงสุกจะร่วน ไม่เกาะกันเป็นก้อน หุงขึ้นหม้อ หากนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้น จะได้เส้นที่เหนียว ไม่ยุ่ย หรือขาดง่าย

Note: เป็นข้าวพื้นเมืองของชุมพรที่หุงแล้วเหมือนจะแฉะแต่ทิ้งไว้สักพักข้าวจะเซ็ทร่วนเป็นตัวเหมาะอย่างยิ่งที่จะเอามาทำข้าวผัดหอมๆ หรือเป็นข้าวราดแกงก็ไม่ยุบเหนียวเละ หรือเป็นข้าวต้มก็หอมอร่อยเลยทีเดียว

คุณค่าทางโภชนาการ

  • มีปริมาณอมิโลส ร้อยละ 29 – 32
  • มีโปรตีนในข้าวร้อยละ 8.4
  • มีไนอะซีน ประมาณ 9.3 มิลลิกรัม
 

กระบวนการผลิต

  • พื้นที่ผลิตอยู่ในจังหวัดชุมพร และมีการผลิตข้าวเหลืองปะทิวชุมพรในระบบอินทรีย์
  • การแปรรูป ผลผลิตข้าวเปลือกสีแปรสภาพเป็นข้าวกล้อง และข้าวสาร โดยโรงสีข้าวอยู่ในจังหวัดชุมพร
  • หีบห่อจะระบุชื่อ “ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร”

ชื่อพันธุ์ – เหลืองประทิว 123 ( Leuang Pratew 123 )

การรับรองพันธุ์

– คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2508

ลักษณะประจำพันธุ์ 

– เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 150 เซนติเมตร
– ไวต่อช่วงแสง
– ลำต้นและใบสีเขียว ใบกว้างและยาว คอรวงยาว
– ข้าวเปลือกสีเหลือง เมล็ดยาวเรียว
– อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 19 ธันวาคม
– ระยะฟักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์
– เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.1 x 2.6 x 2.0 มิลลิเมตร
– เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.6 x 2.3 x 1.8 มิลลิเมตร
– ปริมาณอมิโลส 29-32 %
– คุณภาพข้าวสุก ร่วน แข็ง

ผลผลิต

– ประมาณ 414 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

– คุณภาพการสี ได้ข้าวสารแกร่ง เลื่อมมัน
– ปลูกในดินเปรี้ยวได้ดี ให้ผลผลิตปานกลาง
– ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้งและโรคใบหงิก

ข้อควรระวัง

– ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคใบสีส้ม และโรคเขียวเตี้ย
– ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและหนอนกอ